วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Review การเปิด/ปิด คอมพิวเตอร์จาก Mainboard Acer รุ่นL4S5MG/651+

                     สวัสดี สวีดัสเดืออนแห่งความรัก แต่ไม่ว่าจะเดือนไหนๆก็มีความรักเหมือนเนอะ กลับมาพบกับเราอีกแล้วนะคะ สำหรับวันนี้เราจะมารีวิว การเปิด/ปิด คอมพิวเตอร์ และการรีเซตเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำนอกเคส คือเราเอาอุปกรณ์ออกมาจากเคสทั้งหมด แล้วเอามาต่อกันอีกทีข้างนอก ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้เปิดปิดนั่นคือ "ไขควง" เอ๊...จะเป็นยังไงน๊า?? พอจะนึกภาพกันออกไหมคะ งั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปดูกันเล๊ยยย!!!

         และนี้คือโฉมหน้า ผู้ที่จะทำมีอยู่สองคนเช่นเคย แต่สวยเหมือนเดิม อิอิ^_^

ขั้นที่ 1 เราต้องเอาอุปกรณ์ออกมาจากเคสให้หมดก่อนนะคะ

ขั้นที่2 เมื่อเราเอาอุปกรณ์ออกมานอกแล้ว สิ่งที่จะทำต่อไปคือ ประกอบอุปกรณ์ต่างๆบนเมนบอร์ดเข้าด้วยกันทั้งหมด ดังรูปค่ะ

ขั้นที่3 เมืาอเราประกอบเสร็จเรียบร้อยเราก็จะตรวจสออบว่าเครื่องจะทำงานได้ตามปกติรึ ปล่าว ก่อนที่เราจะทดสอบนั้น เราต้องศึกษาจาก Data Sheet ให้เข้าใจเสียก่อน ซึ่ง Data Sheet นั้น เราสามารถดาวน์โหลดได้ตามอินเตอร์เน็ตทั่วไป แค่เรากรอกชื่อรุ่นและยี่ห้อของเมนบอร์ดตามเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ซึ่ง ดูข้อมูลได้จากแผงเมนบอร์ด ส่วนเครื่องเราจะเป็น Acer รุ่น L4S5MG/651+ คะ นี่คือตัวอย่างส่วนหนึ่งที่เราเออามาให้ดู(ในส่วนนี้เราจะใช้ดู PANEL1 PIN)

ขั้นที่4 จากที่เราศึกษาข้อมุลจาก Data Sheet แล้ว เราก็จะทำการเปิด/ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่เราใช้คือ "ไขควงนั่นเอง"(จะใช้ขนาดใดก็ได้นะคะ)
        ต่อมาคือ เราจะเปิดเครื่องคือต้องใช้ไขควงแตะที่ PANEL1 PIN ช่องที่ 6 และช่องที่ 8 โดยแตะพร้อมกันแล้วเครื่องก็จะออนทำงานตามปกติคะ หากเราจะปิดก็ใช้ไขควงไปแตะแช่ไว้ที่ PANEL1 PIN ช่องที่ 6 และช่องที่ 8 เหมือนเดิมรอจนกว่าเครื่องจะปิด

ขั้นที่ 5 เป็นการรีเซตเครื่องคอมพิวเตอร์ เราจะใช้ไขควงเช่นเดิมคะ แต่ไปแตะที่ PANEL1 PIN เช่นเดิมแต่เป็นช่องที่5 และช่องที่ 7 โดยแตะพร้อมกัน


ส่วนขั้นสุดท้ายเรา ก็ประกอบอุปกรณ์ทั้งหมดใสเข้าไปในเคส เมื่อประกอบเสร็จก็เช็คเครื่องอีกครั้งว่าทำงานไปตามปกติหรือไม่ เครื่องของเราทำงานได้ตามปกตินะคะ

เป็น ยังงัยกันบ้างคะ ไขควงตัวเดียวสามารถเปิดปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ น่าทึ่งเนอะเรานี่ทึ่งเลยละไม่คิดว่าจะใช้ได้จิง สำหรับบล๊อคนี้เป็นการปฏิบัติที่ไม่ตอนไม่เยอะหวังว่าทุกคนจะเข้าใจไม่มากก็ น้อยเนอะ ขอบคุณที่ดูรีวิวของเราจนจบนะคะหวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกนะคะ ฝากติดตามบล๊อคของเราไปเรื่อยๆ เพราะยังมีอะไรสนุกๆที่เราทำอีกเยอะเลย ไปแล้วน๊า บ๊าย บาย....

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

          Review  Power Supply

    กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะกลับบล๊อคที่ 3 ของเรา ในบล๊อคจะมารีวิว Power Supply หรือพัดลมของเครื่อง PC นั่นเองแถมยังมีการเปลี่ยน  สลับกับ PC อีกเครื่องหนึงโดยใช้อุปกรณ์บัดกรีในการเชื่อมต่อพัดลม จะเป็นอย่างไรนั้น เราไปดูกันเล๊ยยยย!!!

      ก่อนอื่นต้องบอกก่อนเลยว่าวันนี้กลุ่มเรามาเป็นแพ็คคู่ นั่นก็มีอยู่สองคนนั่นเอง มีใครบ้างน๊าาาาา

                และที่คือโฉมหน้าผู้ที่จะเปลียน Power Supply หญิงล้วนคะ เกิดเป็นผู้หญิงต้องทำได้ทุกอย่าง Strong Strong!! อยากะบอกว่าชุดที่เราใส่วันนั้นมีสีสันมาก เพราะวันนั้นประเทศอุดรมีอากาศต่ำมาก ถึ่ง 8องศาเชียวนะ โอ้ จะแข็งตาย แต่นั่นก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนของเรา Strong ไหมละ


มาต่อกันเลยดีกว่า อย่างแรกเราต้องพัง เอ้ย!! ต้องแกะ Power Supply ออกจากเครื่อง PC เพื่อมาทำความสะอาดก่อนนะคะ
                     และนี้คือหน้าตาของ Power Supply   ซึ่งPower Supply คือ แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX
   (ส่วนข้างนอก)


(ส่วนข้างใน)
(ส่วนข้างใน)
(ส่วนข้างใน)



    ต่อมา คือขั้นตอนที่สำคัญแล้ววววว เราจะสลับพัดลมกับเพื่อนกลุ่มอื่น และเมื่อสลับแล้ว เครื่องจะทำงานปกติหรือจะพังกว่าเดิม ไปติดตามกันเลยค๊าาาาาา......

      และนี้คืออุปกรณ์ที่เราจะใช้บัดกรี เพื่อเชื่อมต่อพัดลม แต่ละชนิดมีชื่อว่าอย่างไรและทำงานอย่างไรเรามาทำความรู้จักกันดีกว่า
             1. ฟองน้ำเปียง  เอาไว้ทำเช็ดความสะอาดเรื่องบัดกรีที่มีตะกั่วติดอยู่
             2. หัวแร้ง   หัวแร้งเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ใช้ในการบัดกรี มีหน้าที่ให้ความร้อนเพื่อละลายตะกั่ว พอตะกั่วละลายแล้วเอาไปเชื่อมกับสายไฟ หรือขาของอุปกรณ์ที่จะบัดกรี
            3. กระบอกดูดตะกั่ว ใช้สำหรับดูดตะกั่วที่ไม่ต้องการออกจากแผงวงจร
           4. ตะกั่วบัดกรี  ตะกั่วบัดกรีเป็นแบบ 60/40 ตัวเลข 60/40 นี้ก็คือ ส่วนผสมของตะกั่ว และดีบุกคือ มีดีบุก 60 เปอร์เซ็นต์ และตะกั่ว 40 เปอร์เซ็นต์
            5. ฟลักซ์  ใช้ทำความสะอาดหัวแร้งที่มีตะกั่วติดอยู่
             


และแล้วก็มาถึงขั้นตอนการเปลี่ยนพัดลมแล้ว ซึ่งก่อนหน้ามีเพื่อนสาธิตให้ดู ดูเหมือนจะยากมากคะ แต่พอทำแล้วบอกเลยง่ายมั๊กมากกก
    ขั้นที่ 1 แกะตัวพัดลมที่คิดกับเครื่อง Power Supply ออกก่อนคะ


 ขั้นที่ 2 เราจะเอาสายไฟทั้งสีดำและสีแดงที่เชื่อมกับแผงออกก่อนเพื่อจะเอาพัดลมออกมาเปลี่ยนกับกลุ่มอื่น โดยใช้หัวแร้ง จากนั้นใช้กระบอกดูดตะกั่วดูดออด ขอแนะนำเลยว่า เราต้องดูดตะกั่วออกตอนที่ร้อนอยู่ ดูดพร้อมกับที่ให้หัวแร้งละลายตะกั่ว

ขั้นที่ 3 เอาพัดลมที่เราออกมาแล้วสลับกับเพื่อนอีกกลุ่มหนึง แล้วนำสาพไปทั้งสีแดงและสีดำ มาเชื่อมต่อเข้ากับแผง โดยใช้หัวแร้งและตะกั่วบัดกรีใช้ในการเชื่อม ถ้าหากหัวแร้งมีตะกั่วติดก็ให้ทำความสะอาดด้วยฟลักซ์และเช็ดด้วยฟองน้ำที่เปียกน้ำ



ขั้นตอนที่ 4 เมื่อทำการเปลี่ยนเสร็จแล้วก็นำไปทดสอบว่า พัดลมใช้งานได้หรือไม่ โดนนำวัตถุที่เป็นโลหะ มาเสียบใส่ช่อง ที่ 4 และช่องที่ 5 โดยกลุ่มเราใช้ที่คลีบที่มีอยู่ในกล่องอุกรณไขควง


ขั้นตอนที่ 5 เมื่อเราทดสอบว่าพัดลมใช้ได้ปกติ เราก็ประกอบเครื่อง Power Supply ให้เรียบร้อยแล้วนำไปประกอบเข้ากับ PC





 แล้วก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เป็นยังไงกันบ้างคะกับบล๊อคนี้?? สำหรับเจ้าของบล๊อคบอกเลยว่าสนุก ที่ได้ทำในสิ่งที่เราไม่เคยทำและคิดว่าทำไม่ได้ แต่สุดท้ายเราก็ทำได้ ภูมิใจมากกกกคะ   ขอบคุณที่อ่านรีวิวของเราจนจบนะคะ สุดท้ายนี้ฝากติดตามบล๊อคต่อๆไปด้วยนะคะ