วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2559

การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์

สวัสดีหน้าร้อน (ร้อนเว่อร์ร้องอลัง) วันนี้เราจะมารีวิวการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ว่าเราจะเลือกซื้อแบบใดให้เข้ากับงานที่เราทำ หรือแบบที่เราต้องการ ไปดูกันเลย

             เราจัเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในงบ 24,700 บาท ในจำนวนเงินนี้เราจะซื้ออะไรได้บ้างนั้นไปดูกันเลยนะคะ

  1.  CPU



          2. Mainboard



    3. RAM 

   4. VGA Card

    5. Hard Disk

   6. SSD

   7.  Case


  8. Power Supply





  9. Monitor



ก็จบไปแล้วนะคะสำหรับการเลือกซื้ออุปกรณที่เราต้องการ ซึ่งอุปกรณ์แต่ละตัวก็จะเห็นรูปร่าง แล้วก็บอกรายละเอียดอย่างชัดเจนในการเลือกซื้อ

และนี้คือภาพรวมของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เราเลือกซื้อนะคะ


เป็นยังงัยกันบ้างคะสำหรับการเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ถ้าเพื่อนๆคนไหนอยากจะลองเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมดู เดี๋ยวจะแปะลิงค์ไว้ให้ที่ด้านล่างคะ   ย้ำอีกครั้งนะคะ ถ้าหากเราต้องการจะซื้อจริงๆ ต้องศึกษาให้ละเอียดก่อนก่อน แล้วก็เลือกตามระดับความต้องการที่เราจะใช้ (เพราะเงินนั้นไม่ได้หากันง่ายๆเนอะ) สำหรับวันนี้ก็ขอจบการรีวิวเท่านี้นะคะ บ๊าย บาย เจอกันบล๊อคหน้าน๊าาาาา


ลิงค์สำหรับเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์    http://notebookspec.com/PCspec?pw=1

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2559

Review กระบวนการเปิดคอมพิวเตอร์

สวัสดีคะ วันนี้เราจะมาพูดถึงไบออสและการบู๊ตเครื่อง จะเป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลย (วันนี้เราจะไม่พูดเวิ่นเว่อ 55555 อ่อ แล้วก็ตัวหนังสืออาจจะเยอะกว่าภาพหน่อยนะคะ แต่มีสาระที่น่าสนใจทั้งนั้นเลย)

                                                 เอารูปมาแปไว้นิดนึงกลัวว่าจะลืมกัน อิอิ


       อันดับแรกเรามาทำคามรู้จักกับไบออสก่อนนะคะว่าคืออะไร?
          ไบออส (BIOS – Basic Input Output System)
     รากฐานรองรับระบบปฏิบัติการเป็นชุดคำสั่งที่บรรจุอยู่ในหน่วยความจำ ROM ซึ่งเก็บข้อมูลอย่างถาวรถึงแม้จะไม่มีไฟฟ้าหล่อเลี้ยงก็ตาม มีหน้าที่หลักคือควบคุมอุปกรณ์มาตรฐานในเครื่อง เช่น ซีพียู หน่วยความจำ ROM และ RAM เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ อื่นๆไบออสทำให้โปรแกรมประยุกต์หรือระบบปฏิบัติการเป็นอิสระจากอุปกรณ์ เพียงแต่ติดตั้ง Driver ก็สามารถทำงานร่วมกันได้ปัจจุบันเก็บไว้ใน Flash ROM โปรแกรมได้แต่ไม่บ่อย เพื่ออัพเดท firmware

                     หน้าตาของไบออส ก็จะเป็นประมาณนี้นะคะ




ส่วนการบูทเครื่องนั้น จะมีขั้นตอนดังนี้คะ
การบูทเครื่องคือการเอาระบบปฏิบัติการไปไว้ในหน่วยความจำ ทำงานตั้งแต่เปิดสวิทช์เครื่อง

                                 ขั้นที่ 1 พาวเวอร์ซัพพลายส่งสัญญาณไปให้ซีพียูเริ่มทำงาน

                           

                                                       ขั้นที่ 2 ซีพียูสั่งให้ไบออสทำงาน


          ขั้นที่ 3 เริ่มทำงานตามกระบวนการที่เรียกว่า POST เพื่อตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆ จะมีสัญญาณเตือนเมื่อเกิดข้อผิดพลาดเช่น ถ้ามีเสียงยาว 1 ครั้ง สั้น 3 ครั้ง แสดงว่าการ์ดจอมีปัญหา ทั้งนี้ไบออสแต่ละรุ่นก็มีรหัสสัญญาณที่แตกต่างกัน

         ขั้นที่ 4 ผลลัพธ์จากกระบวนการ POST จะถูกนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่อยู่ในซีมอส (CMOS ข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งในเครื่องหรือค่า configuration จะเก็บไว้ในหน่วยความจำนี้ ใช้ไฟน้อยใช้แบตบนเมนบอร์ด) ถ้าถูกต้องก็ทำงานต่อ ไม่เช่นนั้นต้องแจ้งผู้ใช้แก้ไขข้อมูลก่อน

         ขั้นที่ 5 ไบออสจะอ่านโปรแกรมสำหรับบูตจากฟลอปปี้ดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ ไบออสรุ่นใหม่จะตั้งได้ว่าจะบูตจากเซกเตอร์แรกของอุปกรณ์ตัวไหนก่อน

         ขั้นที่ 6 โปรแกรมส่วนสำคัญ(Kernel)จะถูกถ่ายค่าลงหน่วยความจำ RAM

         ขั้นที่ 7 ระบบปฏิบัติการในหน่วยความจำเข้าควบคุมเครื่องและแสดงผลลัพธ์ Kernel ถูกถ่ายโอนลงหน่วยความจำ และเข้าไปควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์โดยรวมและโหลดค่า configuration ต่างๆพร้อมทั้งแสดงผลออกมาที่เดสก์ท็อปของผู้ใช้เพื่อรอรับคำสั่งการทำงาน ต่อไปซึ่งปัจจุบันในระบบปฏิบัติใหม่ๆจะมี GUI ที่เหมาะกับผู้ใช้ทั่วๆไป



ประเภทของการบู๊ตเครื่อง
     - โคลด์บู๊ต (Cold boot) เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง (Power On)
     - วอร์มบู๊ต (Warm boot) เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตาร์ทเครื่อง โดยมากจะใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์แฮกค์สามารถทำได้สามวิธี
         - กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง
         - กดคีย์ Ctrl+Alt+Delete
         - สั่งรีสตาร์ทเครื่องจากเมนูปฏิบัติการ

เป็นยังไงบ้างเอ่ยสำหรับบล๊อคนี้ คงจะได้ความรู้รึแนวทางไม่มากก็น้อยเนอะ สำหรับบล๊อคนี้ก็จะขอลาไปก่อนน๊าาา บ๊ายยย บายยยยย    

วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2559

Review การถอด-ประกอบคอมพิวเตอร์ และออนเครื่องบน Mainboard

        กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ แต่...แต่ในบล๊อคนี้เราไม่ได้มาเป็นภาพถ่าย แต่มาเป็นวิดีโอคะ เพื่อความเข้าใจของผู้เข้ามาดูมากยิ่งขึ้น

             ขอบอกก่อนเลยนะคะว่าการทำวีดีโอยิ่งตื่นเต้นกว่าถ่ายภาพอีกเพราะเราจะทำผิดพลาดไม่ได้เลย ตอนทำตื่นเต้นมากเพราะเป็นวิดีโอแรกกกก(ก. ล้านตัวเลยละคะ)ในการรีวิว จะไปอย่างไรนั้นไปชมกันเล๊ยยย

เป็นยังไงกันบ้างคะ คงจะได้ความรู้ไม่มากก็น้อยเนอะในการทำวิดีโอรีวิวในครั้งนี้ สำหรับบล๊อคนี้เราก็มีเพียงเท่านี้นะคะ อ๋อ.ยังไงก็อย่าลืมติดตามบล๊อคต่อๆไปด้วยน๊าาาา ซียูวววววววววว

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

Review สำรวจและวัดค่าความต่างศักไฟฟ้าในแต่ละพินของ Power Supply

Review สำรวจและวัดค่าความต่างศักไฟฟ้าในแต่ละพินของ Power Supply

สวัสดีคะ กลับมาพบกันอีกแว้วววว หวังว่าคงยังไม่เบื่ออกันน๊าาาาา....

 ก่อนหน้านี้เราก็ได้รีวิวการเปลี่ยนพัดลมของ Power Supply ไปแล้ว ซึ่งบล๊อคนี้จะพาเราไปรู้จักกับส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่งของ Power Supply  และวันนี้เราจะรีวิว การสำรวจและวัดค่าความต่างศักไฟฟ้าในแต่ละพินของ Power Supply กันเล๊ยยยย!!!
  
           นี่คือหน้าตาของอุปกรณ์ที่เราจะวัดค่าความต่างศักไฟฟ้าในแต่ละพินของ Power Supply

 เครื่องที่เราใช้จะเป็นแบบ ดิจิตอล ซึ่งส่วนประกอบของ Digital Multimeter
1. หน้าจอแสดงผล โดยจะแสดงผลเป็นตัวเลข
2. ปุ่มปรับค่าต่างๆ เช่น เลือกตำแหน่งจุดทศนิยม เป็นต้น
3. สัญลักษณ์แสดงช่วงการวัดแต่ละช่วง
4. ปุ่มตั้งช่วงการวัด
5. ช่องสำหรับเสียบสายวัดสำหรับวัดความต่างศักย์ (V) ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ,ความต้านทาน (W)
6. ช่องสำหรับเสียบ Output
7. ช่องสำหรับเสียสายวัดกระแส ในหน่วย mA และ mA ทั้งไฟฟ้ากกระแสตรงและกระแสสลับ
8. ช่องเสียบสายวัดสำหรับวัดกระแสไฟฟ้าสลับสูงสุด

    อย่างที่ 2 คือ Power Supply 

เราจะวัดส่วนที่เห็นดังรูปนะคะ ซึ่งมันจะเป็นช่องๆ เราจะเรียกแต่ละช่องว่า พิน

และอุปกรณ์ชิ้นสุดท้ายคือ แหนบ หรือจะใช้โลหะอย่างอื่นที่นำไฟฟ้าก็ได้


เราก็รู้จักอุปกรร์กับครบไปแล้วขั้นตอนต่อคือ....การวัดค่าต่างศักย์ไฟฟ้า ไปดูก๊านนนน

ขั้นที่ 1 นำแหนบที่เราเตรียมไว้ ไปเสียบที่ พิน 14 และ 15 ดังรูป

ขอต้องอภัยมากๆนะคะสำหรับขั้นตอนนี้เป็นต้นไป เราไม่มีภาพประกอบ เนื่องจากแบตโทรศัทพ์เราหมดเกลี้ยงเลย (แงๆๆๆ) แต่จะพยายามอธิบายให้ชัดเจนแล้วก็เข้าใจนะคะ
ขั้นที่ 2 เสียบปลั๊คเครื่องPower Supply  เพื่อให้เครื่องทำงาน
ขั้นที่ 3 เราจะนำเครื่องมัลติมิเตอร์มาทำการวัดค่าไฟฟ้าในแต่ละพิน โดยเราปรับค่าสเกลแรงดันที่ DC 20V
ขั้นที่ 4 จากนั้นให้นำเครื่องมัลติมิเตอร์สายสีดำ (ซึ่งจะเป็นขั่วลบนะคะ) ต่ออลงกราาวด์หรืออีกอย่างหนึ่งคือให้เสียบลงรูน๊อตที่ยืดตัวเคส Power Supply 
ขั้นที่ 5 ให้นำเครื่องมัลติมิเตอร์สายสีแดง (สีแดงจะเป็นขั่วบวกนะคะ) เราก็จะวัดแต่ละพิน (ซึ่งการวัดพินนี้เราสามารถวัดพินไหนก่อนก็ได้นะคะตามความชอบของเราเลย) แต่ถ้าอยากให้มันดีจริง เราควรที่จะวัดพินที่ 1 จากนั้นก็วัดไปตามลำดับจะได้ไม่สับสนเนอะ เพราะเราเคยวัดแบบตามความชอบเราวัดไปวัดมาสับสนซะงั้น ฮ่าๆๆๆ เอาเป้นว่าวัดตามลำดับดีที่สุดคะ จัดไปโล้ด!!

รูปนี้เราสามารถใช้ ดูพินได้นะคะ

นี่คือตารางที่เราวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าออกมา ซึ่งอาจจะไม่ตรงเป๊ะนะคะ


เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับบล๊อคนี้ เราเชื่อว่าขึ้นชื่อว่าไฟฟ้าก็คงไม่มีใครออยากยุ่งเกี่ยงไม่อยากเสี่ยงตายแน่นอน เราก็เป็นแบบตอนแรกไม่อยากทำเลยกลัวไฟดูดมากกกกกก แต่พอได้ทำแล้วกลับง่ายนิดเดียว(คิดในใจว่า เราก็ทำได้แฮะ อิอิ) ยังไงก็ต้องขออภัยด้วยจริงๆนะคะที่เก็บภาพมาให้ดูไม่ได้ เอาไว้บล๊อคหน้าเราไม่พลาดแน่นอน สำหรับบล๊อคขอบคุณอีกครั้งที่อ่านจนจบนะคะ ฝากติดตามบล๊อ่งคด้วยน๊าาา อย่าพึงเบื่อกัน อิอิ บ๊าย...บาย...    ซียูวววววว