Review สำรวจและวัดค่าความต่างศักไฟฟ้าในแต่ละพินของ Power Supply
สวัสดีคะ กลับมาพบกันอีกแว้วววว หวังว่าคงยังไม่เบื่ออกันน๊าาาาา....
ก่อนหน้านี้เราก็ได้รีวิวการเปลี่ยนพัดลมของ Power Supply ไปแล้ว ซึ่งบล๊อคนี้จะพาเราไปรู้จักกับส่วนประกอบอีกอย่างหนึ่งของ Power Supply และวันนี้เราจะรีวิว การสำรวจและวัดค่าความต่างศักไฟฟ้าในแต่ละพินของ Power Supply กันเล๊ยยยย!!!
นี่คือหน้าตาของอุปกรณ์ที่เราจะวัดค่าความต่างศักไฟฟ้าในแต่ละพินของ Power Supply
เครื่องที่เราใช้จะเป็นแบบ ดิจิตอล ซึ่งส่วนประกอบของ Digital Multimeter
1. หน้าจอแสดงผล โดยจะแสดงผลเป็นตัวเลข
2. ปุ่มปรับค่าต่างๆ เช่น เลือกตำแหน่งจุดทศนิยม เป็นต้น
3. สัญลักษณ์แสดงช่วงการวัดแต่ละช่วง
4. ปุ่มตั้งช่วงการวัด
5. ช่องสำหรับเสียบสายวัดสำหรับวัดความต่างศักย์ (V) ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ,ความต้านทาน (W)
6. ช่องสำหรับเสียบ Output
7. ช่องสำหรับเสียสายวัดกระแส ในหน่วย mA และ mA ทั้งไฟฟ้ากกระแสตรงและกระแสสลับ
8. ช่องเสียบสายวัดสำหรับวัดกระแสไฟฟ้าสลับสูงสุด
อย่างที่ 2 คือ Power Supply
เราจะวัดส่วนที่เห็นดังรูปนะคะ ซึ่งมันจะเป็นช่องๆ เราจะเรียกแต่ละช่องว่า พิน
และอุปกรณ์ชิ้นสุดท้ายคือ แหนบ หรือจะใช้โลหะอย่างอื่นที่นำไฟฟ้าก็ได้
เราก็รู้จักอุปกรร์กับครบไปแล้วขั้นตอนต่อคือ....การวัดค่าต่างศักย์ไฟฟ้า ไปดูก๊านนนน
ขั้นที่ 1 นำแหนบที่เราเตรียมไว้ ไปเสียบที่ พิน 14 และ 15 ดังรูป
ขอต้องอภัยมากๆนะคะสำหรับขั้นตอนนี้เป็นต้นไป เราไม่มีภาพประกอบ เนื่องจากแบตโทรศัทพ์เราหมดเกลี้ยงเลย (แงๆๆๆ) แต่จะพยายามอธิบายให้ชัดเจนแล้วก็เข้าใจนะคะ
ขั้นที่ 2 เสียบปลั๊คเครื่องPower Supply เพื่อให้เครื่องทำงาน
ขั้นที่ 3 เราจะนำเครื่องมัลติมิเตอร์มาทำการวัดค่าไฟฟ้าในแต่ละพิน โดยเราปรับค่าสเกลแรงดันที่ DC 20V
ขั้นที่ 4 จากนั้นให้นำเครื่องมัลติมิเตอร์สายสีดำ (ซึ่งจะเป็นขั่วลบนะคะ) ต่ออลงกราาวด์หรืออีกอย่างหนึ่งคือให้เสียบลงรูน๊อตที่ยืดตัวเคส Power Supply
ขั้นที่ 5 ให้นำเครื่องมัลติมิเตอร์สายสีแดง (สีแดงจะเป็นขั่วบวกนะคะ) เราก็จะวัดแต่ละพิน (ซึ่งการวัดพินนี้เราสามารถวัดพินไหนก่อนก็ได้นะคะตามความชอบของเราเลย) แต่ถ้าอยากให้มันดีจริง เราควรที่จะวัดพินที่ 1 จากนั้นก็วัดไปตามลำดับจะได้ไม่สับสนเนอะ เพราะเราเคยวัดแบบตามความชอบเราวัดไปวัดมาสับสนซะงั้น ฮ่าๆๆๆ เอาเป้นว่าวัดตามลำดับดีที่สุดคะ จัดไปโล้ด!!
รูปนี้เราสามารถใช้ ดูพินได้นะคะ
นี่คือตารางที่เราวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าออกมา ซึ่งอาจจะไม่ตรงเป๊ะนะคะ
เป็นยังไงกันบ้างคะสำหรับบล๊อคนี้ เราเชื่อว่าขึ้นชื่อว่าไฟฟ้าก็คงไม่มีใครออยากยุ่งเกี่ยงไม่อยากเสี่ยงตายแน่นอน เราก็เป็นแบบตอนแรกไม่อยากทำเลยกลัวไฟดูดมากกกกกก แต่พอได้ทำแล้วกลับง่ายนิดเดียว(คิดในใจว่า เราก็ทำได้แฮะ อิอิ) ยังไงก็ต้องขออภัยด้วยจริงๆนะคะที่เก็บภาพมาให้ดูไม่ได้ เอาไว้บล๊อคหน้าเราไม่พลาดแน่นอน สำหรับบล๊อคขอบคุณอีกครั้งที่อ่านจนจบนะคะ ฝากติดตามบล๊อ่งคด้วยน๊าาา อย่าพึงเบื่อกัน อิอิ บ๊าย...บาย... ซียูวววววว